วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2561


Research of BASIC SCIENTIFIC SKILLS OF YOUNG CHILDREN USING EXPERIMENTAL EXPERIENCE IN SCIENCE
สรุปวิจัย เรื่อง
ทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กประถมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ

ชื่อวิจัยทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กประถมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ
ปริญญานิพนธ์แพรวา วิหงส์  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาและการจัดการเรียนรู้  
ปี : สิงหาคม 2557

ความมุ่งหมาย :
  1. เพื่อศึกษาระดับพื้นฐานวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ
  2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังได้รับจากประสบการณ์วิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ 

สมมุติฐาน เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ทั้งโดยรวมและรายทักษะบุคคลขึ้นหลังได้รับการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ
กลุ่มตัวอย่างการสอน :  เด็กปฐมวัย ชายและหญิงอายุ 3-4 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่จำนวน 12 คน ภาคเรียนที่ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนนานาชาติเออลี่เลิร์นนิ่งเซ็นเตอร์ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 
กลุ่มตัวอย่างได้มาจาก การสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยการจับฉลากเลือกจำนวน 1 ห้องเรียน จาก 2 ห้องเรียนและใช้กับนักเรียนทั้งห้องเรียนเป็นกลุ่มตัวอย่าง

ระยะเวลาในการทดลองการทดลองนี้เป็นการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ใช้เวลาในการทดลองทั้งหมด 8 สัปดาห์สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 - 40 นาที ในช่วงเวลา 08.30 - 09.10 รวมการทดลองทั้งหมด 24 ครั้ง

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
  1. แผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ
  2. แบบทดสอบพื้นฐานวิทยาศาสตร์
แผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ปฏิบัติการที่มีผลต่อทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 



แผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ปฏิบัติการที่มีผลต่อทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ชุด




แบบทดสอบพื้นฐานวิทยาศาสตร์


แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ที่2

แบบบันทึกคะแนน 



วิธีการดำเนิน  : 
  1. ผู้วิจัยทำการทดลองโทรศัพท์พื้นฐานวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนการทดลอง (Pre-Test) กับกลุ่มตัวอย่างและบันทึกผลของข้อมูลในแต่ละข้อของเด็กแต่ละคนเพื่อนำมาตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์และเก็บเป็นข้อมูลพื้นฐานชุดที่ 1 โดยใช้สัปดาห์ในการทดสอบพื้นฐานวิทยาศาสตร์ 1 สัปดาห์ คือสัปดาห์ที่ 1  เป็นเวลา 2 วัน คือวันจันทร์ วันพุธทำการทดสอบ วันละ 2 ทักษะ ในช่วงเวลา  08.30 - 10.30 ระยะเวลาในการทดสอบจากเด็กจำนวน 12 คน ใช้เวลาในการทำทดสอบข้อละประมาณ 1-2 นาที รวมประมาณ 20 นาทีต่อเด็ก 1 คน การทดสอบในแต่ละวันให้เด็กทำตาม การจำแนกรายด้านดังนี้ 
วันจันทร์ ชุดที่ 1 แบบทดสอบการสังเกต จำนวน 3 ข้อ 
                                       ชุดที่ 2 แบบทดสอบการจำแนก จำนวน 5 ข้อ
วันพุธ     ชุดที่ 1 แบบทดสอบการจับกลุ่ม จำนวน 5 ข้อ
                                       ชุดที่ 2 แบบทดสอบการเปรียบเทียบ จำนวน 5 ข้อ 

  1. ผู้วิจัยดำเนินการทดลองในสัปดาห์ที่ 2 จนถึงสัปดาห์ที่ 9 รวมทั้งสิ้นเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 30 - 40 นาที ทำเป็นช่วงเวลา 08.30 - 09.10 ของวันจันทร์ วันพุธ วันศุกร์  ในการทดลองรวม 24 ครั้ง ซึ่งในการทดลองแต่ละครั้งผู้วิจัยจะบันทึกและรวบรวมข้อมูล ในระหว่างการปฎิบัติการและนำมาวิเคราะห์ไตร่ตรอง ถึงสาระสำคัญต่างๆที่เด็กเรียนรู้ในแต่ละเรื่อง ทุกๆ วันศุกร์ของแต่ละสัปดาห์ เพื่อนำมาเป็น แนวทางในการปรับปรุง พัฒนากระบวนการจัดกิจกรรมให้เหมาะสม กับผู้เรียนในการทำกิจกรรมครั้งต่อไป
  2. เมื่อดำเนินการทดลองไปจนครบ 8 สัปดาห์ ในสัปดาห์ที่ 10 ผู้วิจัยทำการทดสอบหลังการทดลอง (Post - Test ) กับเด็กกลุ่มตัวอย่างด้วยการทดสอบทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์เดียวกับก่อนการทดลอง
  3. นำข้อมูลที่ได้จากการทดลองไปทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
ตารางการดำเนินการของการทดสอบ

สรุปผลการวิจัย

  1. ผลการศึกษาระดับทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ปฏิบัติการโดยรวมและจำแนกรายด้าน อยู่ในระดับดีมาก
  2. ผลการเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ปฏิบัติการมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .01





วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2561


TEACHING EXAMPLE

Science of absorption

สรุปตัวอย่างการสอน เรื่อง การดูดซับ

อุปกรณ์ในการทดลอง
1.กระดาษทิชชู 1 แผ่น
2. โฟมยาง 1 ชิ้น
3.ถุงเท้า 1 ข้าง
4.ฟองน้ำ 1 อัน
5.ถังใส่น้ำ  ถัง
6.ถังเปล่า 4 ถัง


การทดลองกิจกรรมนี้
คือ การที่นำอุปกรณ์ทั้งหมดลงไปจุ่มลงในน้ำให้เปียกและชุ่ม และให้เด็กๆ นำสิ่งที่เด็กๆลงไปจุ่ม หยิบขึ้นมาบิดน้ำออกใส่ถังเปล่า และในขณะที่เด็กๆบิดก็จะให้พูดความรู้ออกมา
            วิธีการดำเนินการ
1.น้องคนที่ 1 นำกระดาษทิชชูลงไปจุ่มในน้ำ 
                    น้องบอกว่า กระดาษทิชชูมันนิ่งครับ พอจุ่มลงไปมันก็เปียกครับ พอดึงแรงๆมันก็ขาด และเวลาบีบก็มีน้ำออกมาด้วย มีน้ำเยอะนิดหน่อย เลาะ
2. น้องคนที่ 2 นำฟองน้ำลงไปจุ่มในน้ำ 
                    น้องบอกว่า มันนิ่งและมันก็มีน้ำอยู่ข้างใน และก็หนัก เปียก พอไปบิดมันก็ได้น้ำเยอะเลย
3. น้องคนที่ 2 นำโฟมยางลงไปจุ่มในน้ำ 
                   น้องบอกว่า มันแข็งมันก็เลยบิดยาก ได้น้ำนิดเดียวเอง
4.น้องคนที่ 2 นำ ลงถุงเท้าไปจุ่มในน้ำ 
                   น้องบอกว่า มันนิ่ม น้ำเยอะนิดหน่อย มันไม่แข็ง และดูเหมือนว่าบีบมันมีน้ำ บิดแล้วน้ำมันออกมาเยอะแล้วนะเนี่ย

               สรุป
            สิ่งที่ดูดซับน้ำได้ดี เรียงตามลำดับต่อไปนี้ ฟองน้ำ ถุงเท้า ทิชชู และ โฟมยาง



The Article
Teaching Children About Magnetic Force

สรุปบทความเรื่อง การสอนลูกเรื่อง แรงแม่เหล็ก

การสอนลูกเรื่องแรงแม่เหล็ก คือ การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุ ที่สามารถดูดเหล็กหรือวัตถุประเภทโลหะเข้าหาตัวเองได้เพราะมีแรง แต่คนเราไม่เห็นแรงที่ดูดนั้น ซึ่งแรงธรรมชาติที่เกิดจากแท่งแม่เหล็ก สามารถดูดวัตถุที่มีคุณสมบัติคล้ายแม่เหล็ก เช่น วัตถุจำพวกโลหะ เหล็ก นิกเกิล และไม่ดูดวัตถุที่คุณสมบัติตรงข้ามกับแม่เหล็ก เช่น ไม้ แก้ว พลาสติก
การจัดกิจกรรรมการเรียนรู้เรื่องแรงแม่เหล็กให้แก่เด็กปฐมวัย จะเป็นเรื่องที่ท้าทายให้เด็กสนใจติดตามผลการทดลอง และนำความรู้ไปสร้างสรรค์ของเล่นของใช้อย่างแน่นอน เด็กจะรับรู้ได้จากผลการกระทำของแม่เหล็ก ดังนั้น เรื่องแรงแม่เหล็ก จึงเป็นเรื่องแปลกสำหรับเด็กปฐมวัย ชวนให้เด็กตื่นเต้นและเร้าใจของเด็กปฐมวัยได้เป็นอย่างดี สอดคล้องกับธรรมชาติความอยากรู้อยากเห็นของเด็กปฐมวัย


นักทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

กรอบมาตรฐานการเรียนรู้ของวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย อายุ 3-5 ปี ได้กำหนดสาระการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยไว้คือ สาระที่ 4: แรงและการเคลื่อนที่
มาตรฐาน ว 4.1: เข้าใจธรรม ชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้อง เด็กจะเป็นผู้ที่ตระหนักรู้เรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เกิดความเข้าใจและรักษาธรรมชาติ เกิดจิตวิทยาศาสตร์คือมีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ โดยผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง และสนับสนุนให้เด็กเป็นผู้กระทำ รู้จัก คิด ตั้งคำถาม สำรวจ ทดลอง และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รู้และสามารถใช้สิ่งของที่เป็นเทคโนโลยีอย่างง่ายๆได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย
ดังนั้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องแรงแม่เหล็กให้แก่เด็กปฐมวัยมีความสำคัญ ที่จะส่งเสริมเด็กปฐมวัยให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ได้ กล่าวคือ เป็นผู้รู้จักธรรมชาติใกล้ตัว เพื่อนำไปสู่ความ รู้ ความเข้าใจสิ่งต่างๆรอบตัวที่เกิดจากแรงแม่เหล็ก และเด็กปฐมวัยจะได้รับการพัฒนาทางความคิดผ่านการปฏิบัติด้วยตน เองตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์


การสอนเรื่องแรงแม่เหล็กมีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร?
จะมีความรู้เกี่ยวกับแรงแม่เหล็กที่เป็นเรื่องธรรมชาติ ความรู้ที่เด็กได้รับผ่านกิจกรรมทดลองง่ายๆหรือเกิดจากการเล่น ที่ส่งเสริมให้เด็กเกิดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ คือทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก ทักษะการวัด ทักษะการสื่อความหมาย และทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล ทักษะดังกล่าวเป็นทักษะสำคัญที่เด็กจะใช้แสวงหาความรู้ตามกระบวนการวิทยาศาสตร์ คือรู้จักคิดและตั้งคำถาม เพื่อนำไปสู่การหาทางทดลองเพื่อเป็นคำตอบ เป็นการส่งเสริมการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็ก
ทฤษฎีการพัฒนาการทางสติปัญญาของนักการ ศึกษาที่มีชื่อเสียงคือ เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาการพัฒนาการทางสติปัญญาและการเรียนรู้ของเด็ก กล่าวว่า เด็กจะมีการพัฒนาการตามอายุ และที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย มี ขั้นแรก คือ
ิ           ·         ช่วงอายุ 0-2 ปี เด็กจะพัฒนาการการเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง ได้แก่ หู ตา ปาก จมูก ลิ้น และ ผิวสัมผัส (การจับต้อง)
          ·         อีกช่วงอายุ คือ 2-7 ปี เด็กจะใช้ประสาทสัมผัสทั้ง ทางพฤติกรรมที่สมองสั่งการให้ร่างกายทำปฏิกิริยาตอบโต้ต่อสิ่งที่พบเห็นด้วยวิธีการต่างๆ ได้แก่ การลองผิดลองถูก ใช้ภาษา
จึงเป็นข้อสังเกตได้ว่าเด็กสามารถเรียนรู้และมีประสบการณ์ตรงจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว จนสามารถเกิดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่กล่าวมา และผลจากการที่เด็กได้สัมผัสและกระทำ จะทำให้ความคิดเชิงวิทยาศาสตร์ของเด็กพัฒนา ดังนั้น การเรียนเรื่องแรงแม่เหล็ก เด็กจะได้ใช้ประสาทสัมผัสกระทำผ่านกิจกรรมต่างๆ จะเกิดประโยชน์ให้เด็กมีพัฒนาการตามวัย


ครูสอนเรื่องแรงแม่เหล็กให้ลูกที่โรงเรียนอย่างไร?
    ·       ครูอาจจะเป็นผู้ถามหรือสร้างสถานการณ์ให้เด็กถาม เพื่อนำไปสู่การจัดกิจกรรม
    ·       กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ครูให้เด็กทดลองและนำเสนอผลการทดลองแรงดูดและแรงผลักของแม่เหล็กผ่านการเล่นและงานประดิษฐ์
    ·       กิจกรรมเสรี ครูจัดแม่เหล็ก เข็มทิศ ไว้เป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์หรือเครื่องมือวิทยาศาสตร์ให้เด็กได้ทดลองใช้ ที่มุมวิทยาศาสตร์
    ·       กิจกรรมสร้างสรรค์ ให้เด็กใช้งานประดิษฐ์และสร้างสรรค์ตามหน่วยการสอน
    ·       เกมการศึกษา เด็กนำภาพปลาที่ทำสำเร็จแล้วจากกิจกรรมสร้างสรรค์ มาเล่นเกมจัดกลุ่มปลาที่เหมือนกัน โดยให้เด็กใช้แท่งแม่เหล็กดึงปลาที่เหมือนกันมาไว้กลุ่มเดียวกัน
    ·       กิจกรรมกลางแจ้ง เล่นเกมขั้วเหนือขั้วใต้ของแม่เหล็ก โดยให้เด็กจับกันเป็นคู่ๆ
    ·       กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ครูเปิดเพลงบรรเลงเบาๆให้เด็กได้เคลื่อนไหว เมื่อครูชูภาพแม่เหล็กไปทางใด ให้เด็กขยับอวัยวะของตนเอง แขน ขา นิ้ว มือ ศีรษะ ไหล่ ริมฝีปาก หรืออื่นๆที่เคลื่อนไหวได้ ไปในทิศทางที่ชูแม่เหล็ก

พ่อแม่ ผู้ปกครองจะสอนลูกเรื่องแรงแม่เหล็กอย่างไร?
        ·         ให้ลูกรู้จักเครื่องใช้ในบ้านหลายชนิดมีแม่เหล็กเป็นส่วนประกอบ
        ·         ให้ลูกมีส่วนร่วมในการประดิษฐ์ตุ๊กตาติดแม่เหล็ก นำไปติดที่ป้ายกระดาน ความบันทึกความจำติดที่ตู้เย็น
        ·         เล่านิทานที่ใช้ตัวละครติดแม่เหล็ก
        ·         ชวนลูกไปร้านจำหน่ายเครื่องมือวิทยาศาสตร์หรือร้านเครื่องเขียน เลือกซื้อแม่เหล็กให้ลูกได้นำมาใช้ทดลองหรือประดิษฐ์ของเล่น 
        ·         วันหยุดสุดสัปดาห์ ครอบครัวจัดกิจกรรมพักผ่อนนอกบ้าน เช่น ไปพักที่สวน ชายทะเล ร่วมวางแผนแบ่งครอบ ครัวเป็น ทีม ให้เดินทางมาหากันตามแผนที่และใช้เข็มทิศเป็นเครื่องมือ เพราะเข็มทิศจะมีแม่เหล็กเป็นส่วนประกอบสำ คัญที่หันเข็มบอกทิศเหนือใต้ได้ พ่อแม่นำมาใช้ และแนะนำให้ลูกสังเกตการเปลี่ยนเข็มของเข็มทิศ
        ·         คิดและเขียนข้อความที่ลูกชอบ ลงกระดาษแข็งหรือแผ่นพลาสติก ตัดรอบตัวหนังสือนั้น ด้านหลังติดแม่เหล็ก นำพยัญชนะและสระนั้นไปจัดเรียงตามข้อความนั้นที่ตู้เหล็ก นอกจากข้อความนี้แล้ว อาจจะหาบทกวีที่ไพเราะมาใช้เพิ่มเติม ปรับเปลี่ยนบ่อยๆ เป็นการสอนอ่านให้แก่เด็กด้วย
        ·         เล่นเกมกันภายในครอบครัว หาของใช้ที่แม่เหล็กดูดได้ และดูดไม่ได้ ทดลองให้ลูกเห็น หลังจากนั้นให้ลูกนึกในใจว่าจะเลือกเป็นอะไรที่แม่เหล็กดูดได้ แล้วเล่นสมมติว่า พ่อแม่เป็นแม่เหล็ก ลูกๆเลือกเป็นของใช้ เริ่มเล่นจากพ่อแม่พูดว่า พ่อเป็นแม่เหล็ก ลูกจะเป็นอะไร ลูกอาจจะตอบว่า ฝาจุกขวด (มีแม่เหล็กติดอยู่) พ่อก็พูดว่า งั้นเรามากอดกันเถอะ แล้วพ่อกับลูกก็มากอดกัน เหมือนแม่เหล็กดึงดูดเข้าหากัน หากมีพี่หรือน้องร่วมเล่นด้วย ก็ผลัดกันเป็นแม่เหล็กและพูดตามที่ตกลงกัน
        ·         เข้าค่ายวิทยาศาสตร์ร่วมกับทางโรงเรียน ผู้ปกครองนำเสนอให้ครูทราบว่า เรื่องแรงแม่เหล็กเป็นเรื่องหนึ่งที่สม ควรจัดกิจกรรมให้กับเด็ก โดยเฉพาะการทำของเล่นง่ายๆ เล่นสนุกกับเด็ก เช่น เล่นสนุกบริการซ่อมรถยนต์ ติดแม่เหล็กที่รถลากของเล่น แล้วให้เด็กใช้แม่เหล็กชี้ไปที่รถ (สมมติว่าลากรถ)
        ·         นำลูกไปเล่นที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ ที่นี่จะจัดของเล่นทดลองด้วยแรงแม่เหล็กไว้ให้เด็กเล่นอย่างสนุกสนาน
        ·         นำลูกไปห้องสมุดสาธารณะที่มีระบบการตรวจหนังสือเป็นแม่เหล็กที่ทางออก ขอให้บรรณารักษ์อธิบายง่ายๆว่า เครื่องตรวจเช่นนี้ใช้แรงแม่เหล็ก



คลิปวีดีโอ ฐานน้ำนิ่งไหลลึก 





วัตถุประสงค์
อธิบายคุณสมบัติของน้ำได้ เด็กบอกได้ว่าน้ำเป็นส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิต และ เด็กได้ลงมือทดลองร่วมกับครู และมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนๆ ได้รับความสนุกสนานจากการทดลอง รู้จักการมีการสังเกต และคิดในสิ่งที่พบเห็น สามารถนำความรู้ให้สัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน และเด็กยังได้การคิดวิเคราะห์ในการทำการทดลอง
ข้อความรู้
            น้ำเป็นของเหลวชนิดหนึ่งที่มีอยู่มากที่สุดบนผิวโลก เป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำลงชีวิตทุกชนิดที่มนุษย์รู้จัก เราสามารถพบน้ำได้จากหลายๆสถานที่ เช่น ทะเล แม่น้ำ หนอง คลอง บึง อีกทั้งน้ำในหลายๆรูปแบบ เช่น น้ำแข็ง หิมะ ฝน และไอน้ำ
ประเด็นที่อยากรู้
            น้ำมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง?
สมมติฐาน
            - ถ้าใส่น้ำในแก้วจะเกิดอะไรขึ้น?
            - ถ้าใส่น้ำในภาชนะต่างกันจะเกิดอะไรขึ้น?
            - ถ้าวางวัตถุบนผิวน้ำจะเกิดอะไรขึ้น?
            - ถ้าหยดน้ำยาล้างจานลงบนผิวน้ำจะเกิดอะไรขึ้น?
            - ถ้านำผักผลไม้มาบีบจะเกิดอะไรขึ้น?
สื่อ /  อุปกรณ์
1.น้ำ
2.แก้วรูปทรงต่างๆ
3.สีผสมอาหาร
4.คลิปหนีบกระดาษ
5.น้ำยาล้างจาน
6.ผลไม้ และผัก
วิธีการประเมิน
            - สังเกตจากพฤติกรรมจากการเข้าร่วมกิจกรรม เช่น การมีส่วนร่วมช่วยเหลือคุณครู
            - การสนทนาโดยการซักถาม เช่น น้ำมีคุณสมบัติอย่างไร เด็กตอบได้ว่าเป็นของเหลว
            - การบันทึกก่อนและหลังทำกิจกรรม
ขั้นตอน
1. เด็กๆรู้จักอะไรบนโต๊ะบ้าง   เด็กๆรู้ไหมว่าแต่ละอย่างสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง
2. เทน้ำจากแก้วใบแรกใส่แก้วใบที่สองสลับกันไปมา
3. เทน้ำใส่ภาชนะที่มีรูปร่างต่างกัน น้ำจะเปลี่ยนรูปร่างตามภาชนะ
4. เทน้ำให้เต็มแก้ว แล้วนำคลิปหนีบกระดาษมาวางบนผิวน้ำ
5. จากนั้นหยดน้ำยาล้างจานบนผิวน้ำ แล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลง
6. หลังจากนั้นนำผักผลไม้มาบีบ สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง
สรุป
            - เทน้ำจากแก้วใบแรกใส่แก้วใบที่สองสลับกันไปมา ที่น้ำไหลเป็นเพราะว่าน้ำมีคุณสมบัติเป็นของเหลว
            - น้ำเปลี่ยนรูปร่างเพราะภาชนะ
            - วางวัตถุบนผิวน้ำแล้วไม่จม เป็นเพราะน้ำมีแรงตึงผิว

            - เมื่อบีบผัก และผลไม้แล้วมีน้ำออกมา เพราะน้ำเป็นส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิต