วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2561


The Article
Teaching Children About Magnetic Force

สรุปบทความเรื่อง การสอนลูกเรื่อง แรงแม่เหล็ก

การสอนลูกเรื่องแรงแม่เหล็ก คือ การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุ ที่สามารถดูดเหล็กหรือวัตถุประเภทโลหะเข้าหาตัวเองได้เพราะมีแรง แต่คนเราไม่เห็นแรงที่ดูดนั้น ซึ่งแรงธรรมชาติที่เกิดจากแท่งแม่เหล็ก สามารถดูดวัตถุที่มีคุณสมบัติคล้ายแม่เหล็ก เช่น วัตถุจำพวกโลหะ เหล็ก นิกเกิล และไม่ดูดวัตถุที่คุณสมบัติตรงข้ามกับแม่เหล็ก เช่น ไม้ แก้ว พลาสติก
การจัดกิจกรรรมการเรียนรู้เรื่องแรงแม่เหล็กให้แก่เด็กปฐมวัย จะเป็นเรื่องที่ท้าทายให้เด็กสนใจติดตามผลการทดลอง และนำความรู้ไปสร้างสรรค์ของเล่นของใช้อย่างแน่นอน เด็กจะรับรู้ได้จากผลการกระทำของแม่เหล็ก ดังนั้น เรื่องแรงแม่เหล็ก จึงเป็นเรื่องแปลกสำหรับเด็กปฐมวัย ชวนให้เด็กตื่นเต้นและเร้าใจของเด็กปฐมวัยได้เป็นอย่างดี สอดคล้องกับธรรมชาติความอยากรู้อยากเห็นของเด็กปฐมวัย


นักทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

กรอบมาตรฐานการเรียนรู้ของวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย อายุ 3-5 ปี ได้กำหนดสาระการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยไว้คือ สาระที่ 4: แรงและการเคลื่อนที่
มาตรฐาน ว 4.1: เข้าใจธรรม ชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้อง เด็กจะเป็นผู้ที่ตระหนักรู้เรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เกิดความเข้าใจและรักษาธรรมชาติ เกิดจิตวิทยาศาสตร์คือมีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ โดยผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง และสนับสนุนให้เด็กเป็นผู้กระทำ รู้จัก คิด ตั้งคำถาม สำรวจ ทดลอง และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รู้และสามารถใช้สิ่งของที่เป็นเทคโนโลยีอย่างง่ายๆได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย
ดังนั้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องแรงแม่เหล็กให้แก่เด็กปฐมวัยมีความสำคัญ ที่จะส่งเสริมเด็กปฐมวัยให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ได้ กล่าวคือ เป็นผู้รู้จักธรรมชาติใกล้ตัว เพื่อนำไปสู่ความ รู้ ความเข้าใจสิ่งต่างๆรอบตัวที่เกิดจากแรงแม่เหล็ก และเด็กปฐมวัยจะได้รับการพัฒนาทางความคิดผ่านการปฏิบัติด้วยตน เองตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์


การสอนเรื่องแรงแม่เหล็กมีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร?
จะมีความรู้เกี่ยวกับแรงแม่เหล็กที่เป็นเรื่องธรรมชาติ ความรู้ที่เด็กได้รับผ่านกิจกรรมทดลองง่ายๆหรือเกิดจากการเล่น ที่ส่งเสริมให้เด็กเกิดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ คือทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก ทักษะการวัด ทักษะการสื่อความหมาย และทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล ทักษะดังกล่าวเป็นทักษะสำคัญที่เด็กจะใช้แสวงหาความรู้ตามกระบวนการวิทยาศาสตร์ คือรู้จักคิดและตั้งคำถาม เพื่อนำไปสู่การหาทางทดลองเพื่อเป็นคำตอบ เป็นการส่งเสริมการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็ก
ทฤษฎีการพัฒนาการทางสติปัญญาของนักการ ศึกษาที่มีชื่อเสียงคือ เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาการพัฒนาการทางสติปัญญาและการเรียนรู้ของเด็ก กล่าวว่า เด็กจะมีการพัฒนาการตามอายุ และที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย มี ขั้นแรก คือ
ิ           ·         ช่วงอายุ 0-2 ปี เด็กจะพัฒนาการการเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง ได้แก่ หู ตา ปาก จมูก ลิ้น และ ผิวสัมผัส (การจับต้อง)
          ·         อีกช่วงอายุ คือ 2-7 ปี เด็กจะใช้ประสาทสัมผัสทั้ง ทางพฤติกรรมที่สมองสั่งการให้ร่างกายทำปฏิกิริยาตอบโต้ต่อสิ่งที่พบเห็นด้วยวิธีการต่างๆ ได้แก่ การลองผิดลองถูก ใช้ภาษา
จึงเป็นข้อสังเกตได้ว่าเด็กสามารถเรียนรู้และมีประสบการณ์ตรงจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว จนสามารถเกิดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่กล่าวมา และผลจากการที่เด็กได้สัมผัสและกระทำ จะทำให้ความคิดเชิงวิทยาศาสตร์ของเด็กพัฒนา ดังนั้น การเรียนเรื่องแรงแม่เหล็ก เด็กจะได้ใช้ประสาทสัมผัสกระทำผ่านกิจกรรมต่างๆ จะเกิดประโยชน์ให้เด็กมีพัฒนาการตามวัย


ครูสอนเรื่องแรงแม่เหล็กให้ลูกที่โรงเรียนอย่างไร?
    ·       ครูอาจจะเป็นผู้ถามหรือสร้างสถานการณ์ให้เด็กถาม เพื่อนำไปสู่การจัดกิจกรรม
    ·       กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ครูให้เด็กทดลองและนำเสนอผลการทดลองแรงดูดและแรงผลักของแม่เหล็กผ่านการเล่นและงานประดิษฐ์
    ·       กิจกรรมเสรี ครูจัดแม่เหล็ก เข็มทิศ ไว้เป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์หรือเครื่องมือวิทยาศาสตร์ให้เด็กได้ทดลองใช้ ที่มุมวิทยาศาสตร์
    ·       กิจกรรมสร้างสรรค์ ให้เด็กใช้งานประดิษฐ์และสร้างสรรค์ตามหน่วยการสอน
    ·       เกมการศึกษา เด็กนำภาพปลาที่ทำสำเร็จแล้วจากกิจกรรมสร้างสรรค์ มาเล่นเกมจัดกลุ่มปลาที่เหมือนกัน โดยให้เด็กใช้แท่งแม่เหล็กดึงปลาที่เหมือนกันมาไว้กลุ่มเดียวกัน
    ·       กิจกรรมกลางแจ้ง เล่นเกมขั้วเหนือขั้วใต้ของแม่เหล็ก โดยให้เด็กจับกันเป็นคู่ๆ
    ·       กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ครูเปิดเพลงบรรเลงเบาๆให้เด็กได้เคลื่อนไหว เมื่อครูชูภาพแม่เหล็กไปทางใด ให้เด็กขยับอวัยวะของตนเอง แขน ขา นิ้ว มือ ศีรษะ ไหล่ ริมฝีปาก หรืออื่นๆที่เคลื่อนไหวได้ ไปในทิศทางที่ชูแม่เหล็ก

พ่อแม่ ผู้ปกครองจะสอนลูกเรื่องแรงแม่เหล็กอย่างไร?
        ·         ให้ลูกรู้จักเครื่องใช้ในบ้านหลายชนิดมีแม่เหล็กเป็นส่วนประกอบ
        ·         ให้ลูกมีส่วนร่วมในการประดิษฐ์ตุ๊กตาติดแม่เหล็ก นำไปติดที่ป้ายกระดาน ความบันทึกความจำติดที่ตู้เย็น
        ·         เล่านิทานที่ใช้ตัวละครติดแม่เหล็ก
        ·         ชวนลูกไปร้านจำหน่ายเครื่องมือวิทยาศาสตร์หรือร้านเครื่องเขียน เลือกซื้อแม่เหล็กให้ลูกได้นำมาใช้ทดลองหรือประดิษฐ์ของเล่น 
        ·         วันหยุดสุดสัปดาห์ ครอบครัวจัดกิจกรรมพักผ่อนนอกบ้าน เช่น ไปพักที่สวน ชายทะเล ร่วมวางแผนแบ่งครอบ ครัวเป็น ทีม ให้เดินทางมาหากันตามแผนที่และใช้เข็มทิศเป็นเครื่องมือ เพราะเข็มทิศจะมีแม่เหล็กเป็นส่วนประกอบสำ คัญที่หันเข็มบอกทิศเหนือใต้ได้ พ่อแม่นำมาใช้ และแนะนำให้ลูกสังเกตการเปลี่ยนเข็มของเข็มทิศ
        ·         คิดและเขียนข้อความที่ลูกชอบ ลงกระดาษแข็งหรือแผ่นพลาสติก ตัดรอบตัวหนังสือนั้น ด้านหลังติดแม่เหล็ก นำพยัญชนะและสระนั้นไปจัดเรียงตามข้อความนั้นที่ตู้เหล็ก นอกจากข้อความนี้แล้ว อาจจะหาบทกวีที่ไพเราะมาใช้เพิ่มเติม ปรับเปลี่ยนบ่อยๆ เป็นการสอนอ่านให้แก่เด็กด้วย
        ·         เล่นเกมกันภายในครอบครัว หาของใช้ที่แม่เหล็กดูดได้ และดูดไม่ได้ ทดลองให้ลูกเห็น หลังจากนั้นให้ลูกนึกในใจว่าจะเลือกเป็นอะไรที่แม่เหล็กดูดได้ แล้วเล่นสมมติว่า พ่อแม่เป็นแม่เหล็ก ลูกๆเลือกเป็นของใช้ เริ่มเล่นจากพ่อแม่พูดว่า พ่อเป็นแม่เหล็ก ลูกจะเป็นอะไร ลูกอาจจะตอบว่า ฝาจุกขวด (มีแม่เหล็กติดอยู่) พ่อก็พูดว่า งั้นเรามากอดกันเถอะ แล้วพ่อกับลูกก็มากอดกัน เหมือนแม่เหล็กดึงดูดเข้าหากัน หากมีพี่หรือน้องร่วมเล่นด้วย ก็ผลัดกันเป็นแม่เหล็กและพูดตามที่ตกลงกัน
        ·         เข้าค่ายวิทยาศาสตร์ร่วมกับทางโรงเรียน ผู้ปกครองนำเสนอให้ครูทราบว่า เรื่องแรงแม่เหล็กเป็นเรื่องหนึ่งที่สม ควรจัดกิจกรรมให้กับเด็ก โดยเฉพาะการทำของเล่นง่ายๆ เล่นสนุกกับเด็ก เช่น เล่นสนุกบริการซ่อมรถยนต์ ติดแม่เหล็กที่รถลากของเล่น แล้วให้เด็กใช้แม่เหล็กชี้ไปที่รถ (สมมติว่าลากรถ)
        ·         นำลูกไปเล่นที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ ที่นี่จะจัดของเล่นทดลองด้วยแรงแม่เหล็กไว้ให้เด็กเล่นอย่างสนุกสนาน
        ·         นำลูกไปห้องสมุดสาธารณะที่มีระบบการตรวจหนังสือเป็นแม่เหล็กที่ทางออก ขอให้บรรณารักษ์อธิบายง่ายๆว่า เครื่องตรวจเช่นนี้ใช้แรงแม่เหล็ก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น