วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2561


Research of BASIC SCIENTIFIC SKILLS OF YOUNG CHILDREN USING EXPERIMENTAL EXPERIENCE IN SCIENCE
สรุปวิจัย เรื่อง
ทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กประถมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ

ชื่อวิจัยทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กประถมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ
ปริญญานิพนธ์แพรวา วิหงส์  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาและการจัดการเรียนรู้  
ปี : สิงหาคม 2557

ความมุ่งหมาย :
  1. เพื่อศึกษาระดับพื้นฐานวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ
  2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังได้รับจากประสบการณ์วิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ 

สมมุติฐาน เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ทั้งโดยรวมและรายทักษะบุคคลขึ้นหลังได้รับการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ
กลุ่มตัวอย่างการสอน :  เด็กปฐมวัย ชายและหญิงอายุ 3-4 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่จำนวน 12 คน ภาคเรียนที่ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนนานาชาติเออลี่เลิร์นนิ่งเซ็นเตอร์ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 
กลุ่มตัวอย่างได้มาจาก การสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยการจับฉลากเลือกจำนวน 1 ห้องเรียน จาก 2 ห้องเรียนและใช้กับนักเรียนทั้งห้องเรียนเป็นกลุ่มตัวอย่าง

ระยะเวลาในการทดลองการทดลองนี้เป็นการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ใช้เวลาในการทดลองทั้งหมด 8 สัปดาห์สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 - 40 นาที ในช่วงเวลา 08.30 - 09.10 รวมการทดลองทั้งหมด 24 ครั้ง

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
  1. แผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ
  2. แบบทดสอบพื้นฐานวิทยาศาสตร์
แผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ปฏิบัติการที่มีผลต่อทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 



แผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ปฏิบัติการที่มีผลต่อทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ชุด




แบบทดสอบพื้นฐานวิทยาศาสตร์


แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ที่2

แบบบันทึกคะแนน 



วิธีการดำเนิน  : 
  1. ผู้วิจัยทำการทดลองโทรศัพท์พื้นฐานวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนการทดลอง (Pre-Test) กับกลุ่มตัวอย่างและบันทึกผลของข้อมูลในแต่ละข้อของเด็กแต่ละคนเพื่อนำมาตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์และเก็บเป็นข้อมูลพื้นฐานชุดที่ 1 โดยใช้สัปดาห์ในการทดสอบพื้นฐานวิทยาศาสตร์ 1 สัปดาห์ คือสัปดาห์ที่ 1  เป็นเวลา 2 วัน คือวันจันทร์ วันพุธทำการทดสอบ วันละ 2 ทักษะ ในช่วงเวลา  08.30 - 10.30 ระยะเวลาในการทดสอบจากเด็กจำนวน 12 คน ใช้เวลาในการทำทดสอบข้อละประมาณ 1-2 นาที รวมประมาณ 20 นาทีต่อเด็ก 1 คน การทดสอบในแต่ละวันให้เด็กทำตาม การจำแนกรายด้านดังนี้ 
วันจันทร์ ชุดที่ 1 แบบทดสอบการสังเกต จำนวน 3 ข้อ 
                                       ชุดที่ 2 แบบทดสอบการจำแนก จำนวน 5 ข้อ
วันพุธ     ชุดที่ 1 แบบทดสอบการจับกลุ่ม จำนวน 5 ข้อ
                                       ชุดที่ 2 แบบทดสอบการเปรียบเทียบ จำนวน 5 ข้อ 

  1. ผู้วิจัยดำเนินการทดลองในสัปดาห์ที่ 2 จนถึงสัปดาห์ที่ 9 รวมทั้งสิ้นเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 30 - 40 นาที ทำเป็นช่วงเวลา 08.30 - 09.10 ของวันจันทร์ วันพุธ วันศุกร์  ในการทดลองรวม 24 ครั้ง ซึ่งในการทดลองแต่ละครั้งผู้วิจัยจะบันทึกและรวบรวมข้อมูล ในระหว่างการปฎิบัติการและนำมาวิเคราะห์ไตร่ตรอง ถึงสาระสำคัญต่างๆที่เด็กเรียนรู้ในแต่ละเรื่อง ทุกๆ วันศุกร์ของแต่ละสัปดาห์ เพื่อนำมาเป็น แนวทางในการปรับปรุง พัฒนากระบวนการจัดกิจกรรมให้เหมาะสม กับผู้เรียนในการทำกิจกรรมครั้งต่อไป
  2. เมื่อดำเนินการทดลองไปจนครบ 8 สัปดาห์ ในสัปดาห์ที่ 10 ผู้วิจัยทำการทดสอบหลังการทดลอง (Post - Test ) กับเด็กกลุ่มตัวอย่างด้วยการทดสอบทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์เดียวกับก่อนการทดลอง
  3. นำข้อมูลที่ได้จากการทดลองไปทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
ตารางการดำเนินการของการทดสอบ

สรุปผลการวิจัย

  1. ผลการศึกษาระดับทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ปฏิบัติการโดยรวมและจำแนกรายด้าน อยู่ในระดับดีมาก
  2. ผลการเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ปฏิบัติการมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .01





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น