วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561


Diary no.7
Friday 21 September 2018
Time 08:30-12:30 am.

Knowledge summar (สรุปความรู้)
                วันนี้อาจารย์ได้แจกแกนกระดาษทิชชูแล้วให้ประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ แล้วอาจารย์ได้แจกใบงานการทดลองของบ้านนักวิทยาศาสตร์ให้คนละ 1 เรื่อง ให้หาข้อความรู้ และ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ดิฉันได้เรื่อง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ปรากฏการณ์ อินดิเคเตอร์จากพืช

เรื่อง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ปรากฏการณ์ อินดิเคเตอร์จากพืช

ข้อความรู้
             กะหล่ำปลีม่วงเป็นสารสีธรรมชาติ นอกจากนี้ยังพบสารสีในผักและผลไม้ ชนิดอื่นๆ เช่น องุ่นดำ บีตรูต บลูเบอรรี่ กระเจี๊ยบแดง อัญชัน สารนี้คือ แอนโทไซยานิน สมบัติของกะหล่ำปลีม่วงที่ใช้ทดลองความเป็นกรด – เบส ของสารชนิดอื่นๆด้วยการเปลี่ยนสีนั้น  เมื่อนำพืชเหล่านี้มาละลายน้ำจะได้สารสีแดงหรือม่วงเข้ม และ สารนี้จะตอบสนองต่อกรด ยิ่งมีความเป็นกรดมาก น้ำจะยิ่งเปลี่ยนสีมากขึ้น
ประเด็นที่เราอยากรู้  
                กะหล่ำปลีม่วงเมื่อโดยสารที่มีกรดจะเปลี่ยนสีอย่างไร
สมมุติฐาน
                เมื่อเรานำน้ำมะนาว น้ำโซดา และ การใช้หลอดเป่า ลงในน้ำกะหล่ำปลีม่วงจะเกิดอะไรขึ้น
อุปกรณ์
                   -          น้ำกะหล่ำปลีม่วงที่ถูกคั่นแล้วแช่เย็น
                   -          แก้วใส 5 ใบ
                   -          น้ำมะนาว
                   -          น้ำโซดา
                   -          หยอดดูดน้ำ
                   -          น้ำเปล่า
                   -          ช้อนโต๊ะ

ขั้นการทดลอง
                      1.       ตักน้ำกะหล่ำปลีม่วงใส่ แก้วใบที่ 1 – 5 อย่างละ 5 ช้อนโต๊ะ
                      2.       แก้วใบที่ 1ที่มีแต่น้ำกะหล่ำปลีม่วง ให้เด็กสังเกตว่าน้ำมีลักษณะอย่างไร
                      3.       ตักน้ำเปล่า 4 ช้อน ลงในแก้วใบที่ 2 แล้วสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง
                      4.       ตักน้ำมะนาว 4 ช้อน ลงในแก้วใบที่ 3 แล้วสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง
                      5.       ตักน้ำโซดา 4 ช้อน ใส่ลงในแก้วใบที่ 4 แล้วสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง
                      6.       นำหลอดดูด เป่าลงในแก้วใบที่ 5 แล้วสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง
สรุปผลการทดลอง
              แก้วใบที่ 1 ที่ไม่ได้ใส่สารอะไรเลย จะมีสีม่วงเข้ม แต่เมื่อเราตักน้ำเปล่าลงในแก้วใบที่ 2 สีจะเจือจางลง แต่เมื่อเรานำน้ำมะนาวตักใส่น้ำกะหล่ำปลีในแก้วใบที่ 3 น้ำกะหล่ำปลีเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้มขึ้นเรื่อยๆ เพราะน้ำมะนาวมีความเป็นกรดสูง แต่เมื่อเราตักน้ำโซดาใส่แก้วที่มีน้ำกะหล่ำปลีใบที่ 4 น้ำจะเปลี่ยนสีเล็กน้อย เพราะน้ำโซดามีความเป็นกรดเล็กน้อย เนื่องจากน้ำโซดามีกรดคาร์บอนิกเป็นส่วนผสม (กรดคาร์บอนิกเกิดจากการอัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยแรงดันสูง เมื่อเมื่อเปิดฝาขวด กรดคาร์บอนิกเกิดการแตกตัว แล้วทำให้น้ำเปลี่ยนสี ถึงแม้โซดาจะไม่มีรสเปรี้ยวก็ตาม)  และเมื่อเราเป่าลมลงในแก้วใบที่ 5 น้ำจะเปลี่ยนสีเล็กน้อยและจะเปลี่ยนสีให้เห็นที่ฟองเท่านั้น แต่ถ้าเราเป่าหลายๆครั้ง เราจะเห็นชัดเจนยิ่งขึ้น  (ในลมหายใจของคนเรามีก๊าซ CO2 เจือปนอยู่ เมื่อเป่าลมลงในน้ำกะหล่ำปลีจะทำให้เกิดก๊าซCO 2  ทำปฏิกิริยากับน้ำ เกิดกรดคาร์บอนิก เลยทำให้น้ำเปลี่ยนสี  )



Teaching methods (วิธีการสอน)
-          นำสิ่งเหลือใช้มาประยุกต์ทำเป็นสื่อได้โดยที่เราไม่ต้องหาซื้อใหม่
-          ได้เรียนรู้เกี่ยวกับขั้นตอนวิทยาศาสตร์ หรือ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

Apply (การนำไปใช้)
       สามารถนำนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในอนาคตและสามารถนำไปสอนน้องที่บ้านได้อีกด้วย

Assessment (การประเมินผล)
        Self : วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
        Friend : เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์ที่สอน และ ให้ความร่วมมือในการตอบคำถามอาจารย์
        Teacher : อธิบายได้เข้าใจ เปิดโอกาสให้ถาม



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น