วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561


Diary no.8
Friday 5 October , 2018
Time 08:30-12:30 am.

Knowledge summar (สรุปความรู้)
                วันนี้เป็นวันที่นำการทดลองมาลองให้เพื่อนๆดูในชั้นเรียน และคอยมีอาจารย์ให้คำปรึกษา ให้คำแนะนำ
ดิฉันได้นำเสนอเป็นคนแรก
นางสาว ขนิษฐา  สมานมิตร
ทดลองเรื่อง อินดิเคเตอร์จากพืช
โดยการนำกรดต่างๆทั้งในน้ำมะนาว โซดา มาหยอดใส่ในสีที่เกิดจาดการคั่นสีจากธรรมชาติ เรียกว่า สารแอนโทไซยานิน ที่ได้จากกะหล่ำปลีม่วง โดยการนำแก้ว 3 ใบ ใบแรกหยดน้ำมะนาวลงไปในน้ำที่มีกะหล่ำปลี น้ำในแก้วเปลี่ยนเป็นสีแดง ใบที่สอง หยอดน้ำโซดาลงไป น้ำในแก้วค่อยๆเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน ส่วนใบที่สาม ใส่หยอดเป่าให้เป็นฟอง มีสีเพียงเล็กน้อย
สรุปผลการทดลอง
สารที่มีค่ากรดสูง เมื่อนำมาทดลองกับสารที่เกิดจากธรรมชาติ จะทำให้เกิดปฏิกิริยาขึ้นทำให้เปลี่ยนสีได้ชัดเจน  และ ที่โซดา เปลี่ยนสี เกิดจาก ในโซดามีกรด คาร์บอนอกเป็นส่วนผสม ที่เกิดจาก การอัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยแรงดันสูง 
นางสาว วิภาพร จิตอาคะ
ทดลองเรื่อง จรวดกล่องฟิล์ม
ใช้มะนาว และ เบกิ้งโซดา ใส่ไปในกล่องฟิล์ม ทำให้เกิดการตึงตัวของฟากล่องคล้ายจรวด
สรุปผลการทดลอง
เมื่อก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขยายตัวในที่แคบ ทำให้มีแรงดันทำให้ฝากล่องฟิล์มพุ่งขึ้นเหมือนจรวด
นาวสาว วสุธิดา คชชา
ทดลองเรื่อง การละลายของน้ำตาล
นำสีผสมอาหาร สีต่างๆมาหยอดใส่น้ำตาล 2 ก้อน จากนั้นวางก้อนน้ำตาลลงบนในจานที่มีน้ำ สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง
สรุปผลการทดลอง
การลลายของก้อนน้ำตาลเกิดจากในก้อนน้ำตาลที่มีอากาศ พอโดยน้ำ ทำให้เกิดการแทนที่เลยทำให้อากาศในน้ำตาลดูดน้ำเข้าไปจนหมด
นางสาว กิ่งแก้ว ทนนำ
ทดลองเรื่อง แสงและภาพ
นำกระดาษพลาสติกใสที่โปร่งใส วาดภาพลงไป จะมองเห็นภาพที่วาดเป็นลวดลาย แม้ในกระดาษสีขาวที่ทำกระบอกไฟฉาย จากกระดาษสีขาว ไปไว้ด้านหลังระหว่าง กระดาษใสกับกระดาษสีดำภาพจะกลับมาชัดอีกครั้ง
สรุปผลการทดลอง
เนื่องจากสีดำดูดทุกสีและสะท้อนเข้าสู้ตาเราจึงมองไม่เห็นภาพ แต่ถ้าเป็นสีขาวไม่ดูดสีใดเลยทำฝห้มองเห็นเป็นสีขาว
นางสาว วิจิตรา ปาคำ
ทดลองเรื่องความลับสีดำ
นำปากกาเคมีกันน้ำ และไม่กั้นนำ มาวาดใส่กระดาษกรอง และหยดน้ำใส่ภาพทั้ง 2 พบว่าปากกาที่กันน้ำไม่มีอะไรเกิดขึ้น ต่างจากปากกาที่ไม่กั้นน้ำ เกิดการแตกตัวกระจายเป็นสีต่างๆ
สรุปผลการทดลอง
เนื่องจากสีดำเกิดจากการผสมสีของทุกสีรวมกัน

Teaching methods (วิธีการสอน)
           อาจารย์ให้คำแนะนำ คอยสอนวิธีการสอนที่ถูกต้อง การใช้คำง่ายๆให้เด็กเข้าใจง่าย     

Apply (การนำไปใช้)
การสอนวันนี้ทำให้นำไปสอนได้
Assessment (การประเมินผล)
        Self : วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
        Friend : เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์ที่สอน และ ให้ความร่วมมือในการตอบคำถามอาจารย์
        Teacher : อธิบายได้เข้าใจ เปิดโอกาสให้ถาม



วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561


Diary no.7
Friday 21 September 2018
Time 08:30-12:30 am.

Knowledge summar (สรุปความรู้)
                วันนี้อาจารย์ได้แจกแกนกระดาษทิชชูแล้วให้ประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ แล้วอาจารย์ได้แจกใบงานการทดลองของบ้านนักวิทยาศาสตร์ให้คนละ 1 เรื่อง ให้หาข้อความรู้ และ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ดิฉันได้เรื่อง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ปรากฏการณ์ อินดิเคเตอร์จากพืช

เรื่อง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ปรากฏการณ์ อินดิเคเตอร์จากพืช

ข้อความรู้
             กะหล่ำปลีม่วงเป็นสารสีธรรมชาติ นอกจากนี้ยังพบสารสีในผักและผลไม้ ชนิดอื่นๆ เช่น องุ่นดำ บีตรูต บลูเบอรรี่ กระเจี๊ยบแดง อัญชัน สารนี้คือ แอนโทไซยานิน สมบัติของกะหล่ำปลีม่วงที่ใช้ทดลองความเป็นกรด – เบส ของสารชนิดอื่นๆด้วยการเปลี่ยนสีนั้น  เมื่อนำพืชเหล่านี้มาละลายน้ำจะได้สารสีแดงหรือม่วงเข้ม และ สารนี้จะตอบสนองต่อกรด ยิ่งมีความเป็นกรดมาก น้ำจะยิ่งเปลี่ยนสีมากขึ้น
ประเด็นที่เราอยากรู้  
                กะหล่ำปลีม่วงเมื่อโดยสารที่มีกรดจะเปลี่ยนสีอย่างไร
สมมุติฐาน
                เมื่อเรานำน้ำมะนาว น้ำโซดา และ การใช้หลอดเป่า ลงในน้ำกะหล่ำปลีม่วงจะเกิดอะไรขึ้น
อุปกรณ์
                   -          น้ำกะหล่ำปลีม่วงที่ถูกคั่นแล้วแช่เย็น
                   -          แก้วใส 5 ใบ
                   -          น้ำมะนาว
                   -          น้ำโซดา
                   -          หยอดดูดน้ำ
                   -          น้ำเปล่า
                   -          ช้อนโต๊ะ

ขั้นการทดลอง
                      1.       ตักน้ำกะหล่ำปลีม่วงใส่ แก้วใบที่ 1 – 5 อย่างละ 5 ช้อนโต๊ะ
                      2.       แก้วใบที่ 1ที่มีแต่น้ำกะหล่ำปลีม่วง ให้เด็กสังเกตว่าน้ำมีลักษณะอย่างไร
                      3.       ตักน้ำเปล่า 4 ช้อน ลงในแก้วใบที่ 2 แล้วสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง
                      4.       ตักน้ำมะนาว 4 ช้อน ลงในแก้วใบที่ 3 แล้วสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง
                      5.       ตักน้ำโซดา 4 ช้อน ใส่ลงในแก้วใบที่ 4 แล้วสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง
                      6.       นำหลอดดูด เป่าลงในแก้วใบที่ 5 แล้วสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง
สรุปผลการทดลอง
              แก้วใบที่ 1 ที่ไม่ได้ใส่สารอะไรเลย จะมีสีม่วงเข้ม แต่เมื่อเราตักน้ำเปล่าลงในแก้วใบที่ 2 สีจะเจือจางลง แต่เมื่อเรานำน้ำมะนาวตักใส่น้ำกะหล่ำปลีในแก้วใบที่ 3 น้ำกะหล่ำปลีเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้มขึ้นเรื่อยๆ เพราะน้ำมะนาวมีความเป็นกรดสูง แต่เมื่อเราตักน้ำโซดาใส่แก้วที่มีน้ำกะหล่ำปลีใบที่ 4 น้ำจะเปลี่ยนสีเล็กน้อย เพราะน้ำโซดามีความเป็นกรดเล็กน้อย เนื่องจากน้ำโซดามีกรดคาร์บอนิกเป็นส่วนผสม (กรดคาร์บอนิกเกิดจากการอัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยแรงดันสูง เมื่อเมื่อเปิดฝาขวด กรดคาร์บอนิกเกิดการแตกตัว แล้วทำให้น้ำเปลี่ยนสี ถึงแม้โซดาจะไม่มีรสเปรี้ยวก็ตาม)  และเมื่อเราเป่าลมลงในแก้วใบที่ 5 น้ำจะเปลี่ยนสีเล็กน้อยและจะเปลี่ยนสีให้เห็นที่ฟองเท่านั้น แต่ถ้าเราเป่าหลายๆครั้ง เราจะเห็นชัดเจนยิ่งขึ้น  (ในลมหายใจของคนเรามีก๊าซ CO2 เจือปนอยู่ เมื่อเป่าลมลงในน้ำกะหล่ำปลีจะทำให้เกิดก๊าซCO 2  ทำปฏิกิริยากับน้ำ เกิดกรดคาร์บอนิก เลยทำให้น้ำเปลี่ยนสี  )



Teaching methods (วิธีการสอน)
-          นำสิ่งเหลือใช้มาประยุกต์ทำเป็นสื่อได้โดยที่เราไม่ต้องหาซื้อใหม่
-          ได้เรียนรู้เกี่ยวกับขั้นตอนวิทยาศาสตร์ หรือ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

Apply (การนำไปใช้)
       สามารถนำนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในอนาคตและสามารถนำไปสอนน้องที่บ้านได้อีกด้วย

Assessment (การประเมินผล)
        Self : วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
        Friend : เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์ที่สอน และ ให้ความร่วมมือในการตอบคำถามอาจารย์
        Teacher : อธิบายได้เข้าใจ เปิดโอกาสให้ถาม